ประวัติความเป็นมาของตำบลบวกค้าง
จากการเล่าสืบต่อกันมาของผู้สูงอายุในตำบลเชื่อกันว่าตำบลบวกค้างได้กำเนิดพร้อมกับวัด บวกค้างโดยก่อตั้งมาประมาณ พ.ศ. 2010 ตรงกับรัฐสมัยพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนาวัดบวกค้างเดิม ชื่อว่าวัดบ่อค่างหรือวัดบวกค่างวัดบวกค้างสร้างบริเวณที่ฝูงค่างได้มาขุด บ่อน้ำหรือบวกไว้เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ดื่มกิน จึงเรียกว่าวัดบ่อค่างหรือวัดบวกค่าง
ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นวัดบวกค้างและเรียกกันจนติดปากว่าวัดบวกค้างหลวงสิ่งก่อ สร้างแรกคือพระธาตุกู่ดำเป็นมณฑปศิลปะลายปูนปั้นที่สวยงามของเชียงใหม่ยุค แรกจนถึง พ.ศ.2101 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏิเป็นกษัตริย์ครองราชอาณาจักรล้านนาไทยเสียเอกราช ให้กับพระเจ้าบุเรงนองจึงกวาดต้อนชาวบ้าน บวกค้างและผู้คนจากเชียงใหม่ไปช่วยทำศึกทำให้ชาวบ้านบวกค้างร้างผู้คนวัดจึง เป็นวัดร้างต่อมาพ.ศ. 2323 พระเจ้ากาวิละได้กู้เอกราชเชียงใหม่กลับคืนมาภายใต้การช่วยเหลือของพระเจ้า กรุงธนบุรี (พระยาตากสินมหาราช) ได้ยกทัพไปตีหัวเมืองต่างๆทางตอนบนคือไทลื้อไทของไทเขินเพื่อรวบรวมไพร่ พลเมืองเชียงใหม่เรียกยุค “เก็บผ้าใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง” ใน พ.ศ. 2356 ได้ทำการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองซึ่งเป็นการกวาดต้อนครั้งสุดท้ายโปรดให้ เจ้ากระหม่อมสุริยวงศาเจ้าเมืองยององค์ที่ ๓๔ ให้ลงมาตั้งอธิษฐานในเชียงใหม่ จากหลักฐานศิลาจารึกที่ค้นพบทราบว่ามาตั้งถิ่นฐานที่บวกค้าง
เจ้ากระหม่อมสุริยวงศาได้อาราธนาครูบาเจ้าญาณศิริจากวัดบวกค้างแซมหลวงเมืองยอง มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวกค้างทำการบูรณะถาวรวัตถุอันมีค่าคือกู่ดำและพระเจดีย์ ซึ่งเป็นของเก่าแก่สมัยราชวงศ์เม็งรายและสร้างพระนอนหล้าเพื่อเป็นศูนย์รวม จิตใจชาวยองรวมทั้งสร้างวิหารหลังคาแฝดครอบพระนอนหล้าและกู่ดำไว้ เป็นวิหารแฝดซึ่งเท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และมีเพียง 2 แห่งในโลก คือมีอยู่อีกแห่งที่ประเทศลาว ทำให้วัดบวกค้างซึ่งเคยเป็นวัดร้างเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งขยายอาณาเขต ชุมชนชาวยองให้กว้างขวางขึ้นมีการแยกย้ายไปแสวงหาที่ทำกินใหม่กระจายออกไป เป็นหมู่บ้านต่างๆรวมกันเป็นตำบลบวกค้างปัจจุบันตำบลบวกค้าง ประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน ๑๓ หมู่บ้านประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นชาวยอง จึงยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาวยองขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้อย่างมั่นคง